วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558

เทคนิค ออกแบบเว็บไซต์ ประจำปี 2015


ในปี 2015 นี้มีหลายอย่างบนโลกดิจิตอลเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก หนึ่งในนั้นคือเทคโนโลยีทางด้านเว็บไซต์
สำหรับเว็บไซต์ในยุคปัจจุบัน ปี 2015 นี้ มีอะไรบ้าง? เรามาดูกันครับ
อย่างแรก เว็บไซต์ในยุคประจุบัน มีการออกแบบให้รองรับทุกอุปกรณ์ อย่างเช่น mobile, tablet ที่เรียกว่า responsive design
เพราะผู้ใช้เริ่มเข้าถึงเว็บไซต์ผ่านทางอุปกรณ์เหล่านี้มากขึ้น เมื่อเทียบกับ desktop หรือ PC แบบแต่ก่อน
และเมื่อเร็วๆนี้การ ออกแบบเว็บไซต์ ให้เป็นมิตรกับ mobile หรือที่เรียกว่า mobile friendly ทาง Google เอง
ได้ประกาศออกมาแล้วว่าจะปรับเปลี่ยนอัลกลอรึธึมใหม่
จัดอันดับให้เว็บที่รองรับการเข้าใช้ผ่านประเภท mobile device มาอยู่อันดับที่ดีขึ้น
และมีผลพร้อมกันวันที่ 21 เมษายนนี้ ท่านสามารถเช็คว่าเว็บไซต์ของท่านเองเหมาะกับการแสดงผลบน mobile device หรือไม่
ได้ที่เว็บไซต์นี้ https://www.google.com/webmasters/tools/mobile-friendly/
อย่างที่ 2 การออกแบบเว็บไซต์สไตล์ flat หรือ flat design ที่ดูเรียบง่าย ไม่มีมิติเหมือนแต่ก่อน ซึ่งเป็นที่นิยมมากขึ้น เพราะว่าใช้งานง่าย
โดยจะเน้นหลักไปที่โทนสีที่ไม่ฉูดฉาด ดูแล้วสบายตา




5 ข้อ ที่ไม่ควรใช้ในการออกแบบเว็บไซต์





การออกแบบเว็บไซต์เว็บไซต์ในยุค 2015 ควรคำนึงถึงสิ่งที่ไม่เหมาะกับการนำมาทำเว็บ ดังนี้

Flash การออกแบบโดยใช้ flash หรือทำ animation เป็นไฟล์แฟลช ไม่ควรนำมาทำเว็บ
ถึงเทคโนโลยีบนเว็บบราวเซอร์จะทันสมัยมากขึ้น แต่สำหรับ mobile อาจจะไม่รองรับ และ ยังไม่มีผลดีในแง่ content ที่เป็นประโยชน์กับ search engine

Image ที่มีจำนวนมากเกินไป การใช้รูปภาพใส่ในหน้าเว็บจนเยอะเกินไป เกิน 50% ของเนื้อหาบนหน้าเว็บ ทำให้เกิดการร้องขอ(request) ไปยังโฮสติ้ง(hosting) เป็นจำนวนมาก server ทำงานหนักมากขึ้น

Size of image ที่ใหญ่เกินไป รูปภาพที่มีขนาดใหญ่จนเกินไป ทำให้หน้าเว็บโหลดช้า และ เปลืองทรัพยากร พื้นที่เว็บ

Font color สีตัวหนังสือ ไม่ควรใช้สีตัวหนังสือที่ฉูดฉาด ทำให้ผู้ใช้รู้สึกแสบตา ควรใช้้สีที่ดูแล้วสบายตา อย่างเช่นการออกแบบสไตล์ flat

Font size ขนาดตัวหนังสือ ไม่ควรใช้ขนาดตัวหนังสือที่เล็กหรือใหญ่เกินไป เวลาที่ผู้ใช้อ่านจะทำให้ต้องใช้สายตาเพ่งมากขึ้น

นี่ก็เป็นส่วนเล็กๆน้อยๆที่มองข้ามไม่ได้เลยในการออกแบบเว็บไซต์นะครับ เก็บทุกรายละเอียดเพื่อเว็บไซต์ที่โดนใจผู้ใช้ที่สุด
ที่มา : http://www.igetweb.com/igetweb/main/detail.php?type=tip&pid=2060







แนะนำการทำเว็บสำเร็จรูป



"สร้างเว็บไซต์" คงจะเป็นเรื่องยุ่งยากไม่น้อยสำหรับหลายท่านที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มากนัก เพราะส่วนใหญ่ก็มักจะพึ่งพาโปรแกรมเมอร์หรือเว็บดีไซน์เป็นหลัก การมีระบบเว็บไซต์สำเร็จรูปเข้ามาช่วยให้ปัญหาด้านเทคนิคต่างๆลดน้อยลงไปมาก เหลือเพียงแค่คลิกและอัพโหลดข้อมูลเท่านั้น แต่กระนั้น การจะเปิดเว็บไซต์แต่ละครั้ง ยังคงต้องสำรวจสิ่งที่ต้องใช้ประกอบการทำเว็บไซต์หลายสิ่ง โดย 10 ข้อแนะนำที่จำเป็นต้องทราบก่อนจะทำเว็บไซต์ มีดังนี้

1. วัตถุประสงค์ที่ชัดเจนของเว็บไซต์
การมีเว็บไซต์เป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์ชั้นยอด ด้วยค่าใช้จ่ายที่น้อย แต่สามารถมีผู้คนเข้ามาชมได้ทั่วทุกมุมโลก แต่เว็บไซต์ที่จะสามารถยืนหยัดอยู่ได้นานจริงๆจำเป็นจะต้องมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนอยู่ในตัว เช่น เป็นเว็บไซต์ส่วนตัว เว็บไซต์ขายของ หรือเว็บไซต์เพื่อการประชาสัมพันธ์ และหากเป็นเว็บขายของ ก็ควรจะมีความชัดเจนเรื่องตัวสินค้า ไม่ควรนำสินค้าที่ไม่เกี่ยวข้องมาปะปนกัน เช่น คนเข้ามาแล้วเห็นประกาศขายชุดจานเมลานีนอยู่ข้างๆ โฆษณาปุ๋ยยูเรียอยู่ในเว็บไซต์ นอกเสียจากว่านั่นเป็นเว็บประกาศขายสินค้าทั่วไป เป็นต้น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการทำเว็บไซต์เป็นสำคัญ

2. รู้จักกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการให้เข้าชมเว็บ
เมื่อรู้แน่ชัดแล้วว่า วัตถุประสงค์ที่ชัดเจนของเว็บไซต์คืออะไร ต่อมาก็คือการรู้จักกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการให้เข้าชมเว็บไซต์ด้วย การรู้จักว่ากลุ่มเป้าหมายคือใคร จะเป็นตัวกำหนดทิศทางในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ว่าควรลงโฆษณาในหมวดหมู่ใด ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ขายเครื่องเสียงรถยนต์ ก็ควรลงโฆษณาในเว็บไซต์หมวดหมู่ประกาศขายอุปกรณ์ตกแต่งรถยนต์ ซึ่งจะมีกลุ่มคนที่สนใจอุปกรณ์ตกแต่งรถยนต์เข้าไปดูข้อมูลในหมวดหมู่ประกาศดังกล่าว และนำมาสู่การดูข้อมูลในเว็บไซต์ที่ลงประกาศไว้ เป็นต้น

3. มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ตอยู่บ้าง
แม้คนส่วนใหญ่จะคิดว่า ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต สามารถเรียนรู้กันได้ในภายหลัง แต่สำหรับผู้ที่จะทำหน้าที่เว็บมาสเตอร์แล้ว ความรู้ที่จำเป็นต้องมีได้แก่ การใช้โปรแกรมเบื้องต้นทั่วไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น Microsoft Office Word , การเซฟไฟล์งาน, การอัพโหลดรูปภาพ, การย่อขยายรูปภาพอย่างง่ายด้วยโปรแกรม Photoscape หรือ ACDC, การรับส่งอีเมล, การโพสต์กระทู้, การทำลิงค์ เป็นต้น

โปรแกรมเหล่านี้จะช่วยได้มากในกรณีที่ท่านใช้ระบบเว็บไซต์สำเร็จรูป ReadyPlanet เพราะเป็นโปรแกรมที่ใช้ในขั้นตอนการเตรียมข้อมูลสำหรับนำมาใส่ในระบบเว็บไซต์สำเร็จรูป รวมไปถึงเครื่องมือในระบบเว็บไซต์สำเร็จรูปมีลักษณะการใช้งานคล้ายกับบางโปรแกรม ดังนั้น หากมีพื้นฐานการใช้งานโปรแกรมข้างต้นมาแล้ว จะสามารถใช้งานเครื่องมือในระบบเว็บไซต์สำเร็จรูปได้อย่างแน่นอน

4. ศึกษารายละเอียดของการเปิดเว็บไซต์
การศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการทำเว็บไซต์ มีความสำคัญและจำเป็นต้องวางแผนให้รอบคอบอย่างยิ่ง หลาย ๆ ท่านที่ต้องการมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง แต่ขาดความเชี่ยวชาญ ไม่มีความรู้ และประสบการณ์ในการทำเว็บไซต์มาก่อน จำเป็นจะต้องพึ่งพาอาศัยโปรแกรมเมอร์และเว็บดีไซเนอร์เป็นอย่างมาก ซึ่งส่วนใหญ่แล้วก็จะมีค่าใช้จ่ายที่สูงมากในการแก้ไขข้อมูลแต่ละครั้ง อีกทั้งยังต้องมองหาโฮสติ้งที่ดีและราคาไม่แพงนักในการออนไลน์เว็บไซต์ขึ้นบนอินเตอร์เน็ต ซึ่งเสี่ยงกับปัญหาผู้ให้บริการไม่ใส่ใจ โฮสติ้งไม่ดี เซอร์เวอร์ล่มบ่อยตามมา

ทั้งหมดนี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการใช้ระบบเว็บไซต์สำเร็จรูป ReadyPlanet ซึ่งราคาประหยัด สามารถอัพเดทข้อมูลและรูปภาพได้เองตลอดเวลา ตัดปัญหาค่าใช้จ่ายบานปลาย และไม่ต้องจ้างโปรแกรมเมอร์เพิ่ม อีกทั้งได้หน้าเว็บไซต์ที่สวยงาม เพราะระบบมีรูปแบบเว็บไซต์ (เทมเพลต) ให้เลือกมากมาย โดยได้รับการออกแบบมาอย่างสวยงามและน่าเชื่อถือ

5. เลือกชื่อโดเมนเนมที่เหมาะสม และจดจำง่าย
จากที่ได้แนะนำรายละเอียดในบทความ เรื่อง "ความหมายและความสำคัญของการจดทะเบียนโดเมน" ว่า ชื่อโดเมนเนม ควรเป็นชื่อที่ไม่ยาวมากเกินไป ง่ายต่อการจดจำและสื่อถึงเนื้อความในเว็บไซต์ได้เป็นอย่างดี เช่น เว็บไซต์รับจองที่พักในประเทศไทย ก็ควรใช้ชื่อที่เข้าใจง่าย อย่างเช่น Thailandhotels.com เป็นต้น ส่วนนามสกุลนั้น ดอทคอม (.com) จะได้รับความนิยมเป็นอันดับแรก รองลงมาก็จะเป็น .net, .co.th, .biz, .org ซึ่งก็สามารถใช้ได้เช่นเดียวกัน ควรหลีกเลี่ยงชื่อโดเมนเนมที่ต้องใช้เครื่องหมาย- หรือ _ คั่นตัวอักษร เพราะคนส่วนมากจะพิมพ์เฉพาะตัวอักษรในการค้นหาเว็บ และไม่ควรใช้ชื่อเว็บไซต์ที่เป็นซับโดเมน ซึ่งส่วนมากจะเป็นเว็บไซต์แจกฟรีซึ่งชื่อของเราจะต้องผูกติดอยู่กับเจ้าของพื้นที่ไปตลอด เช่น www.myname.anotherweb.com

6. ศึกษากฏหมายเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ต่างๆบนเว็บไซต์
ถึงแม้อินเตอร์เน็ตจะเพิ่งเข้ามามีบทบาทแพร่หลายในบ้านเราเมื่อไม่กี่ปีมานี้ แต่การล่วงละเมิดลิขสิทธิ์ต่างๆโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็สามารถนำปัญหาและความวุ่นวายตามมาได้ ในปัจจุบันนี้มีการออกกฏหมาย พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐ ผู้ทำเว็บไซต์ควรศึกษารายละเอียดให้ดี

7. เตรียมข้อมูลให้พร้อม
การอัพเดทเว็บไซต์ขึ้นมาใหม่นั้น ข้อมูลที่เตรียมมาพร้อมก็เป็นเรื่องสำคัญมาก เนื่องจากในระยะ 1-2 สัปดาห์แรก จะเป็นช่วงที่ต้องวางโครงสร้างของทั้งเว็บไซต์ การแบ่งหมวดหมู่ของเนื้อหา จัดคอลัมน์ และอัพโหลดรูปภาพ รวมไปถึงกำหนดรายละเอียดเล็กๆน้อยๆมากมาย ดังนั้น ควรเตรียมข้อมูลที่จะใช้ประกอบในเว็บไว้ให้พร้อม และทำการ Resize ขนาดภาพให้พอดีและมีขนาดเท่ากัน เพื่อง่ายสำหรับการอัพโหลด ก็จะช่วยย่นระยะเวลาการทำเว็บได้อีกมาก

8. หลีกเลี่ยงสิ่งที่มีผลกระทบต่อการแสดงผลเว็บไซต์
เว็บมาสเตอร์หลายๆท่านต้องการให้เว็บของตัวเองสวยงามและมีลูกเล่น จึงพยายามที่จะใส่ลูกเล่น หรือเอฟเฟคต่าง ๆ เข้าไปในเว็บไซต์จำนวนมาก เช่น ภาพแฟลช รูปภาพที่มีความละเอียดสูง วีดีโอจำนวนมาก เป็นต้น แต่แทนที่จะทำให้คนเข้าชมมากๆ กลับกลายเป็นทำร้ายตัวเองได้ เพราะภาพแฟลช หรือวีดีโอจำนวนมาก จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของคนที่อินเตอร์เน็ตช้า ใช้เวลาในการแสดงผลเป็นเวลานาน ส่งผลให้คนส่วนใหญ่ปิดเว็บนั้นไปในแทบจะทันที และไม่เคยคิดกลับเข้าไปอีก จึงควรระมัดระวังการแสดงผลข้อมูลเหล่านี้ ให้ไม่มากจนเกิน

9. เรียนรู้ กฏ กติกา มารยาท บนอินเตอร์เน็ต
แม้ว่าอินเตอร์เน็ตจะเป็นโลกที่เปิดกว้างไร้พรมแดน แต่การมีตัวตนอยู่ให้ได้อย่างยั่งยืนและประสบความสำเร็จบนไซเบอร์สเปซ ก็จำเป็นต้องพึ่งพา กฏ กติกา มารยาท ไม่แพ้การพบปะสังคมกับผู้คนจริงๆ ดังนั้น หากต้องการให้เว็บไซต์ยืนหยัดอยู่ได้ ควรศึกษาว่าสิ่งใดควรทำหรือไม่ควรทำบนอินเตอร์เน็ต เช่น การส่งแสปมเมล การโฆษณาในเว็บบอร์ดที่ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณา เป็นต้น

10. สูดลมหายใจลึกๆ แล้วเตรียมตัวออกไปโลดแล่นกันได้เลย
เมื่อเว็บไซต์ของคุณออนไลน์สู่ไซเบอร์สเปซแล้ว การเรียนรู้นับจากนี้ก็จะเป็นไปโดยธรรมชาติ ซึ่งมีบทเรียนใหม่ๆมากมายเข้ามาไม่จบสิ้น ขอให้โชคดี และประสบความสำเร็จทุกท่านค่ะ

ที่มา : http://www.readyplanet.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539161872&Ntype=17

สอนทำเว็บ Dreamweaver CS3

บทที่ 1 เว็บเพจ 1 หน้า


บทที่ 2 การสร้าง templates

บทที่ 3 การใช้งาน templates



บทที่ 4 การเชื่อมโยง


ที่มา : https://www.youtube.com/user/suzyjong/featured

วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ภาษาโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างเว็บไซต์


ภาษาโปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนาเว็บไซต์ โดยพื้นฐาน ได้แก่

1. HTML (ย่อมาจาก Hyper Text Markup Language)
เป็นภาษาที่ใช้สำหรับสร้างเว็บเพจ มีโครงสร้างประกอบไปด้วย tag และ attribute ต่างๆ ที่ใช้ในการควบคุมการแสดงผลของข้อความ รูปภาพ หรือวัตถุอื่น ๆ     ภาษา HTML นั้นเป็นภาษาประเภท Markup ไม่จัดเป็นภาษาประเภท Programming  สามารถที่จะเรียนรู้ได้ง่าย
2. CSS (ย่อมาจาก Cascading Style Sheets)เป็นภาษาที่มีรูปแบบการเขียน Syntax ที่เฉพาะ ถูกกำหนดขึ้นเพื่อใช้เสริมภาษา HTML ให้สามารถจัดรูปแบบการแสดงผลให้กับเอกสาร HTML ได้สมบูรณ์แบบมากขึ้น
3. XHTML (ย่อมาจาก Extensible HyperText Markup Language)
เป็นมาตรฐานใหม่ของ HTML คำสั่งต่างๆนั้นก็ยังเหมือนกับ HTML แต่จะมีความเข้มงวดในเรื่องโครงสร้างภาษามากกว่า และมีการตัด tag และ attribute ที่ล้าสมัยออกไป

ภาษา Script ที่ใช้ในการสร้างเว็บเพจ แบ่งได้เป็น

1) Server-Side Script เช่น PHP, ASP, JSP, CGI    เป็นภาษา script ที่ประมวลผลที่ฝั่ง Server แล้วส่งผลลัพธ์ไปแสดงผลที่ฝั่ง Client ผ่านโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ เช่น IE, Firefox
2) Client-Side Script เช่น JavaScript, VBScript, JScript   เป็นภาษา script ที่ประมวลผลบนเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ โดยใช้โปรแกรมเว็บเบราเซอร์  ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาการทำงานให้กับเครื่อง Web Server ได้
ในกรณีที่ต้องการให้แอพพลิเคชันทำงานร่วมกันกับแอพพลิเคชันอื่น เช่น ฐานข้อมูล  เราจะต้องใช้ Server-Side Script  เขียนคำสั่งติดต่อกับฐานข้อมูล  โดยผู้ชมเว็บจะไม่สามารถดูคำสั่ง ( Source Code) ของ Server-Side Script เหล่านั้นได้
ต่างจากการเขียนคำสั่งแบบ Client-Side Script  ที่ผู้ชมเว็บสามารถดูคำสั่งที่เขียนด้วย Client-Side Script รวมถึง HTML, CSS  ของหน้าเว็บเพจนั้นได้  ด้วยการคลิกเมาส์ขวาบนหน้าเว็บเพจนั้นๆ และเลือกคำสั่ง View Source หรือ View Page Source ในโปรแกรมเว็บเบราเซอร์
ที่มา : http://www.enjoyday.net/web-programming-languages.html


ความรู้เบื้องต้น web programming




Web Programming คือ การเขียนโปรแกรมบนเว็บไซต์ แปลง่ายไหม เช่น รับข้อมูลจากแบบฟอร์ม , Webboard , ChatRoom ฯลฯ ก็คงพอเห็นภาพกัน ความจริงหมวดนี้เขียนยากมากเพราะคนส่วนใหญ่ที่เข้ามาอ่านจะเป็นประมาณเซียนๆ ทั้งนั้น กลัวจะเขียนไม่ถูกใจอย่าว่ากัน แต่โดยปกติแล้วผมถนัดด้านนี้มากกว่า อืม เก่งเชียว

งาน Web Programming เป็นงานที่ทำรายได้ได้ดี และไม่ได้ฝึกหัดกันง่ายๆ เพราะต้องอาศัยความรู้ ความคิดที่สะสม หรือภาษาวงใจเรียกกันว่า Logic ซึ่งแต่ละคนจะมีไม่เหมือนกัน อยู่ที่การฝึกฝนและการผ่านงาน มาก่อน เอาแล้วเริ่มไปไกล สำหรับผู้เริ่มต้นอย่างพึงท้อใจครับ หากท่านตั้งใจจริงทุกอย่างเป็นไปได้ แต่อาจจะยากสักนิดสำหรับผู้ไม่มีพื้นฐานมาเลยเราจะบอกรายละเอียดโดยรวมๆของ ภาษาที่ใช้ในการเขียน Web Programming แล้วกันครับ
[dd]เป็นภาษาที่ใช้สำหรับบนระบบ WindowsNT โดยรันบน IIS หรือ (PWS) ของบอกก่อนการรันบนที่ผมหมายถึงคือ ในการทำ Programming ไม่ว่าภาษาอะไรจะต้องมีตัวแปลภาษาครับ ASP ค่อนข้างเป็นภาษาที่ง่ายและเหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นมากที่สุดเท่าที่ผมรู้นะ เพราะรู้แบบของภาษาจะคล้ายกับภาษามนุษย์มากที่สุด จะใช้เป็นภาษาอังกฤษ เช่น การเปิด Text File ก็ใฃ้ OpenTextFile เป็นต้น เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น หรือไม่มีพื้นที่เหมาะนะผมว่า หากท่านจะไปทาง ASP ท่านจะต้องการเว็บโฮสติ้งบนระบบ NT อย่างที่บอกไว้ก่อนหน้านี้
File จะเป็น .asp (dot asp) โดยจะทำการแทรก Code ไปตาม Code HTML เช่น

<%=date%>

อันนี้แบบง่ายๆแค่นี้ก็พอมัง โดย Code ของ ASP จะอยู่ภายใต้ <% %> สำหรับผู้ที่จะลองดูให้ท่านทำการ Install Personal Web Server ได้จากแผ่น Windows98 SE หรือ 98 ธรรมดาแบบเต็มเท่านั้นจะอยู่ที่ Directory addon
[dd]อันนี้จะคล้ายๆกับ ASP ตรงที่ Code จะแทรกในส่วนของ Code HTML แต่ PHP จะอยู่ภายใต้  โดยนามสกุลจะเป็น .php .php3 .php4 ก็แล้วแต่ว่าแต่ละ Server ให้ใช้อะไรกัน ในส่วนของ Code ด้านในก็ง่ายๆ + ยากๆ แต่ผมว่าก็ง่ายนะ แต่ก็ยากกว่า ASP นิดหน่อย โดยจะมีคำสั่งบางคำสั่งคล้ายๆกับภาษา C เช่น printf(“”); หรือก็คล้ายกับ C บน Unix เช่น echo ก็น่าสนใจนะครับ ก็ลองกันดู เช่น

  • -< html >
  • -< body >
  • -< ? printf(“สวัสดี”); ? >
  • -< /body >
  • -< /html >

อันนี้จะค่อนข้างยาก เหมาะสำหรับผู้มีพื้นที่ทาง Programming หรือผู้ที่สนใจเป็นพิเศษ ผมอาจจะเขียนอันนี้ได้มากหน่อยเพราะผมใช้งานอยู่ด้วย การเขียน Code จะไม่เหมือนกับ ASP PHP คือจะไม่มีการแทรก Code บน HTML แต่ถ้าต้องการเขียน HTML ด้วยก็ได้เหมือนกัน นามสกุล file จะเป็น .cgi .pl คุณสมบัติที่ค่อนข้างเด่นคือในเรื่องของตัวแปล ที่มีหลากหลายและค่อนข้างชัดเจน โดยหากท่านสนใจให้ท่านทำการ Download ตัวแปลภาษา Active Perl ก็เลือกดูว่าจะใช้บน Linux หรือ Windows อย่า Download มาผิดตัวนะ ทางเราจะพยายามนำตัวแปลภาษาแต่ละภาษามาให้ Download กันแล้วกันนะครับ ด้วยอย่าง Code ภาษา Perl
print “Content-type:text/html\n\n”;
@months = (“มกราคม”, “กุมภาพันธ์”, “มีนาคม”, “เมษายน”, “พฤษภาคม”, “มิถุนายน”, “กรกฎาคม”, “สิงหาคม”, “กันยายน”, “ตุลาคม”, “พฤศจิกายน”, “ธันวาคม”);
@days = (“อาทิตย์”, “จันทร์”, “อังคาร”, “พุธ”, “พฤหัสฯ”, “ศุกร์”, “เสาร์”);
($sec, $min, $hour, $date, $mon, $year, $wday, $yday, $isdst) = localtime(time);
$year += 1900;
$year += 543;
print “วัน$days[$date]ที่ $date $months[$mon] $year”;
[font color=blue]1. Active Server Page (ASP)[/font]
[font color=blue]2. PHP[/font]
[font color=blue]3. Perl[/font]
#!/usr/local/bin/perl
ก็เป็นตัวอย่างก็แสดงวันนี้ภาษาไทยให้ดูกัน คนที่เขียนอยู่อย่าว่ากันนะที่เอาแบบง่ายๆมาให้ดู คือ ข้างบนเขาบอกว่าความรู้เบื้องต้นนะ
ยังมีอีกหลายภาษาที่ไม่ได้กล่าวเช่น JSP ที่กำลังมาแรงมากๆในตอนนี้ก็ยากอาจจะยากกว่า Perl ด้วยแต่คุณสมบัติเนียะไม่ต้องพูดถึงยอดเยี่ยมที่สุดเท่าที่เคยพบ เพราะจะทีคุณสมบัติอย่าง OOP ของ Java มาด้วยทำให้ท่านนักพัฒนาทั้งหลายอยากใช้กันใหญ่ แต่ไม่เหมาะกับสำหรับผู้คลั้ง Microsoft นะครับเพระคงไม่เขียน Java กัน และก็มีอย่าง ColdFusion อันนี้ก็น่าสนใจ มักจะเห็นหลายๆเว็บก็ใช้กัน แต่ไม่ค่อยพบมากนักในประเทศไทยเท่าไร หนังสือก็ไม่ค่อยพบเห็น คนเขียนได้ก็ต้องเก่งหน้าดูอย่างนี้

ที่มา :http://www2.twebmaster.com/

วันอาทิตย์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2558

ตัวดำเนินการประกอบ

ตัวดำเนินการประกอบ

เป็นการใช้ตัวดำเนินการหนึ่งตัวร่วมกับเครื่องหมายเท่ากับ การใช้ตัวดำเนินการประกอบ จะช่วยให้เขียนข้อความสั่งได้สั้นและเร็วขึ้น

ตัวดำเนินการประกอบ
ตัวอย่าง
การทำงาน
+=
x+=5
x = x+5
-=
x-=5
x = x-5
*=
x*=5
x = x*5
/=
x/=5
x = x/5
%=
x%=5
x = x%5











ลำดับในการดำเนินการ
1. ()
2. ++ --
3. *  /  %
4. + -
5. +=  *=  /=  -=  %=
ถ้าในนิพจน์มีตัวดำเนินการที่มีลำดับเท่ากัน จะประมวลผลจากซ้ายไปขวา